้ี้้้่่พระฤทธิ์ลือชัย   ตั้งอยู่ที่ ตำบลเปือย ถือเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของ จังหวัดอำนาจเจริญ ดังปรากฎว่ามีการสร้างเสมา บริเวณใกล้เคียงกันถึง 3 แห่ง ได้แก่   1. กลุ่มเสมาหลังโรงเรียนชุมชนบ้านเปือย    2. กลุ่มเสมาบริเวณวัดไร่เรไร  3. กลุ่มเสมาในเขตวัดโพธิ์ศิลา

พระฤทธิ์ลือชัย  เป็นพระประธานในโบสถ์ของวัดบ้านอำนาจ หมู่ที่ 4 ต.อำนาจ อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ ถูกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2404 ในคราวเดียวกันกับพระเหลาเทพนิมิตร อ.พนา จ.อำนาจเจริญ

Phra Rit Lue - Chai,      a chief Buddha image of wat Ban Amnat, is as old as phra Lao Thep Nimit which was cast in 1961.

                                            

  1. กลุ่มเสมาหลังโรงเรียนชุมชนเปือยหัวดง    ปักล้อมฐานหินทรายที่ตั้งรูปเคารพ และพระพุทธรูปที่นั่งขัดสมาธิราบสมัยทราวดีตอนปลาย  องค์หนึ่ง ลักษณะของเสมาเรียบไม่มีลวดลาย แต่ตรงกลางเป็นแกนสันที่เรียวไปถึงยอด                

2. กลุ่มเสมาบริเวณวัดไร่เรไร   วัดป่าเรไรปัจจุบันเป็นที่พักสงฆ์ นักเป็นกลุ่มเสมาที่มีความหนาแน่นแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นกลุ่มเสมาที่ทำด้วยศิลาแลง ไม่มีการสลักลวดลายมากนักเพียงแต่ตกแต่งรูปร่างให้เป็นเสมาและมีการสลักฐานบัวคว่ำบัวหงายมีสันนูน คล้ายยอดสถูปตรงกลาง

3. กลุ่มเสมาในเขตวัดโพธิ์ศิลา  บ้านเปือยหัวดง เป็นเนินศาสนสถานที่มีกลุ่มเสมาหินทรายปักอยู่ มีการสลักเป็นรูปหม้อน้ำหรือบูรณฆฎะ 1 นอกจากนี้ยังได้ขุดพบหม้อดินเผาขนาดใหญ่ลายเชือกทาบ ภายในหม้อบรรจุพระพุทธรูปประทับนั่งขนาดเล็กบุเงินจำนวนมาก

Ban Puai Hua Dong Archaeological Remains,     located in Tambon Puai, is one of most significant archaeological remain sites. Nearby are located three important boundary markers. Boundary markers witness the continuily of the large community located here from that in          12 - 13 century B.E.

อุโบสถ (สิม) วัดบ้านยางช้า      ต.อำนาจ อ.ลืออำนาจ ห่างจากจังหวัด 30 กิโลเมตร เป็นสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่นอีสานลักษณะเป็นอาคาร ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง7.00 เมตร ยาว 10.80 เมตร สูง 7.40 เมตรผนังภายในและภายนอกมีภาพจิตกรรมฝีมืออดีตเจ้าอาวาส ผู้ก่อตั้งวัดบ้านยางช้า

บ่อน้ำบุ้น          คำว่า "บุ่น" เป็นภาษาพื้นเมืองอีสาน หมายถึง การไหลทะลักออกมา "น้ำบุ่น" จึงหมายถึง น้ำไหลทะลักขึ้นมาจากพื้นดิน    ตลอดเวลา คล้ายน้ำพุแต่ไม่สูงนัก "บ่อน้ำบุ้น" เป็นแหล่งกำเนิดลำน้ำหรือแอ่งน้ำ มีลักษณะคล้ายบ่อทราย กว้างประมาณ 1 เมตร มองคล้ายกะทะหงายเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ปากหลุมเป็นดินเหนียวหรือดินโคลนปิดปากหลุม มีน้ำไหลพุ่งขึ้นมาตลอดเวลา เห็นได้ชัดในฤดูแล้ง ส่วนฤดูฝนมักจะเกิดน้ำท่วม ชาวบ้านเรียกปรากฏการณ์ธรรมชาติเช่นนี้ว่า "ดูน"การไหลพุ่งขึ้นมาของน้ำใต้ดิน จะทำให้โคลนที่อยู่ปากบ่อ หรือชาวบ้านเรียกว่า "แปวดูน" มีการไหลเวียนขึ้นลงก่อให้เกิดแรงดูดหากมีคนหรือสัตว์พลัดตกลง ไปจะถูกโคลนดูดจมหายไป ในปัจจุบันจังหวัดอำนาจเจริญมีบ่อน้ำบุ้นอยู่ 3 แห่ง คือ
1) ที่วัดบึงน้ำพุ ต.ไก่คำ อ.เมือง
2) ที่บ้านนาดูน ต.เปือย อ.ลืออำนาจ
3) ที่บ้านน้ำซับ ต.แมด อ.ลืออำนาจ